ตั๋วเครื่องบินไป Narathiwat (NAW)

ทราเวลโลก้าช่วยให้คุณค้นหาตั๋วเครื่องบินราคาถูกและโปรโมชั่นตั๋วเครื่องบินไปยัง Narathiwat (NAW)

เส้นทาง

สายการบิน

ตารางบิน

ราคาเริ่มต้น

บุรีรัมย์ (BFV) → นราธิวาส (NAW)
สายการบิน
อังคาร, 21 พ.ค. 2024
THB 2,248.92
กัวลาลัมเปอร์ (KUL) → นราธิวาส (NAW)
สายการบิน
อังคาร, 21 พ.ค. 2024
THB 2,699.77
ปีนัง (PEN) → นราธิวาส (NAW)
สายการบิน
พุธ, 24 เม.ย. 2024
THB 3,307.27
สุราบายา (SUB) → นราธิวาส (NAW)
สายการบิน
พฤหัสบดี, 02 พ.ค. 2024
THB 8,936.67
ฮานอย (HAN) → นราธิวาส (NAW)
สายการบิน
จันทร์, 29 เม.ย. 2024
THB 64,517.01

โรงแรมยอดนิยมใน Narathiwat

Imperial Narathiwat Hotel
Imperial Narathiwat Hotel
Grand Garden Hotel
Grand Garden Hotel
Taksin 2 Hotel
Taksin 2 Hotel
Tanyong Hotel Narathiwat
Tanyong Hotel Narathiwat
GreenView Boutique Hotel
GreenView Boutique Hotel
Paksina Resort
Paksina Resort
แสดงโรงแรมทั้งหมด

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนราธิวาส

นราธิวาส (Narathiwat) เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ติดกับประเทศมาเลเซียอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,149 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 4,227.75 ตารางกิโลเมตร ที่จังหวัดนราธิวาสนั้นมีสนามบิน ดังนั้นหากใครที่อยากมาเที่ยวนราธิวาส แนะนำจองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสกันได้เลย มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีภูเขาหนาแน่นแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นแนวกั้นพรหมแดนไทย-มาเลเซีย  ลักษณะของพื้นที่มีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก  พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4  สาย คือ  แม่น้ำสายบุรี  แม่น้ำบางนรา  แม่น้ำตากใบ  และแม่น้ำโก-ลก  มีพื้นที่พรุจำนวนประมาณ 361,860 ไร่ มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 59 กม. มีภูเขาที่สำคัญคือเทือกเขาสันกาลาคีรี อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเขาบอสินยอ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด และเทือกเขาบูโด อยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัด  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษามลายูเป็นภาษาพูด    

 

นราธิวาส แต่เดิมทีเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง ตั้งอยู่ปากแม่น้ำบางนราติดชายทะเลอ่าวไทย มีฐานะเป็นเพียงอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา หรือ บางนาค ส่วนชาวไทยมุสลิมเดิมเรียกที่นี่ว่า มนารา หรือ มนารอ ขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองภาคใต้ ต่อมาถูกโอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ในมณฑลปัตตานี ซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองเช่นกัน ปี พ.ศ. 2449 ในสมัยรัชกาลที่ 5 บ้านบางนรามีความเป็นอยู่หนาแน่นและเจริญเป็นชุมชนใหญ่กว่าตัวเมืองระแงะ จึงมีการย้ายศาลาว่าการเมืองมาตั้งที่บ้านมะนาลอ พร้อมยกฐานะขึ้นเป็น เมืองบางนรา ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา ทรงมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่อ เมืองบางนรา เป็น นราธิวาส อันมีความหมายว่า ที่อยู่ของคนดี ถัดมาในปี พ.ศ. 2476 มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ โดยการเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดนราธิวาสนับแต่นั้นเป็นต้นมา

 

นราธิวาส ปัจจุบันเป็นจังหวัด 1 ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT Growth Triangle Development Project) มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก ที่ชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์ นิยมมาท่องเที่ยวพักผ่อน แม้จะเป็น 1 ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่นราธิวาสนั้นเป็นเมืองที่เงียบสงบอบอุ่น และปลอดภัย ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มีสถานที่ท่องเที่ยวให้สำรวจอย่างครบรส หลากวัฒนธรรม ทั้งวัดไทยพุทธ พระพุทธอุทยาน ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ศูนย์รวมพลังแห่งศรัทธาของชาวจีนในนราธิวาส รวมทั้งชาวจีนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย  มัสยิดสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวมุสลิม ภูเขา ทะเล น้ำตก อีกทั้งวิถีชีวิตชุมชนมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปลายด้ามขวานทองของไทย ที่มีมนต์เสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสเมืองแห่งอารยธรรมแห่งนี้

 

เช็คมาตรการสนามบินนราธิวาสได้ที่นี่

สกุลเงินที่ใช้

ไทยบาท (Thai Baht หรือ THB)

 

ฤดูกาล 

จังหวัดนราธิวาสตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดจากมหาสมุทรอินเดีย และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดผ่านอ่าวไทย ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยจึงไม่สูงมาก อากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อน และอบอุ่นในช่วงฤดูฝน ส่วนในฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นเป็นบางครั้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.3 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดส่วนมากอยู่ในเดือนเมษายน แต่มีบางปีที่อากาศร้อนที่สุดอยู่ในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงที่สุดที่วัดได้ 39.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 17.1 องศาเซลเซียส  

นราธิวาสแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่องว่างของฤดูมรสุม หลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว อากาศจะเริ่มร้อน และมีอากาศร้อนจัดที่สุดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม แต่ไม่ร้อนมากนัก เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำทำให้อากาศคลายความร้อนลงไปมาก
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้นจากมหาสมุทรอินเดียพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีฝนตกทั่วไป และในช่วงฤดูฝนยังมีร่องความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้เป็นระยะๆ อีกด้วย จึงทำให้มีฝนตกมาก และเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกมากในช่วงฤดูหนาว คือระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมอีกช่วงหนึ่งด้วย จึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีฤดูฝนอันยาวนาน
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็น แต่เนื่องจากอยู่ติดชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของภาคใต้ อุณหภูมิจึงไม่ลดลงมาก อากาศหนาวกำลังสบาย

 

สายการบินที่มาลงนราธิวาส 

  •  เส้นทางบินระหว่างกรุงเทพฯ – นราธิวาส มีเที่ยวบินให้บริการ 15  เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จากสนามบินสุวรรณภูมิ และ สนามบินดอนเมือง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 35 นาที ระยะทาง 819 กิโลเมตร
  • สายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ – นราธิวาส จากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินนราธิวาส ได้แก่ การบินไทย (Thai Airways) ไทยสมายล์ (Thai Smile Airways) และไทยแอร์เอเชีย (Thai Air Asia)
  • สายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ – นราธิวาส จากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินนราธิวาส ได้แก่ แอร์เอเชีย (Thai Air Asia)

 

วิธีการเดินทางในนราธิวาส

  • รถสองแถว ให้บริการรับส่งจากสนามบินสู่ตัวเมือง รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังอำเภอต่างๆ เช่น สุไหงโกลก ตากใบ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่คิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง  
  • รถตู้ ให้บริการรับส่งระหว่างสนามบินและตัวเมือง รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง  
  • รถแท็กซี่ บริการรถรับส่งระหว่างสนามบินและตัวเมือง รวมทั้งสถานที่ต่างๆ คิดราคาตามมิเตอร์ หรือคิดเหมาจ่ายตามตกลง
  • รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางภายในตัวเมืองที่สะดวกรวดเร็ว อัตราค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง และการต่อรอง
  • รถเช่า ในตัวเมืองนราธิวาสมีรถให้เช่า ทั้งรถยนต์ และรถตู้ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้จากโรงแรมที่พัก
  • รถสามล้อถีบซึ่งความจริงคือจักรยานพ่วงข้างอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของที่นี่  

 

ที่เที่ยวสำคัญนราธิวาส

  1. 1. หาดนราทัศน์ (Naratat Beach) ชายหาดอันโด่งดังของนราธิวาส เพราะอยู่ห่างจากใจกลางตัวเมืองเพียง 1 กิโลเมตร เท่านั้น เดินทางสะดวกสุดๆ หาดนราทัศน์ร่มรื่นด้วยทิวสน  มีหาดทรายขาวรูปทรงโค้งสวยงามยาวต่อเนื่องหลายกิโลเมตร มองเห็นได้ไกลจนสุดลูกหูลูกตา ตลอดความยาวของหาดจะแบ่งเป็นหลายโซน ได้แก่ โซนขายอาหาร โซนเล่นน้ำ ไปจนถึงปลายแหลมปากแม่น้ำบางนรา นอกจากหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใสเหมาะแก่การลงเล่นน้ำแล้ว นักท่องเที่ยวที่จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสจะได้เห็นวิถีชีวิตชาวประมงในที่หมู่บ้านตั้งกระจายกันเป็นระยะๆ ทางทิศใต้ของหาดนราทัศน์ ซึ่งอยู่ติดกับปากน้ำบางนรา ชมเรือกอและที่มีลวดลายสีสันสวยงามวิจิตรอลังการจอดเรียงรายอยู่ตรงเวิ้งอ่าวหน้าหมู่บ้าน นอกจากนี้แม่น้ำบางนรายังเป็นสถานที่จัดงานแข่งเรือกอและในช่วงเดือน 11 ของทุกปีอีกด้วย ริมหาดแห่งนี้ยังมีร้านอาหารเรียงรายอยู่หลายร้าน อิ่มอร่อยกับอาหารหลากหลาย ทั้งอาหารทะเลสด ส้มตำน้ำตก ไส้กรอกลูกชิ้น และที่ขาดไม่ได้คือ กือโป๊ะ หรือข้าวเกรียบปลาของดีเมืองนราฯ ที่บริเวณหาดนราทัศน์มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ พร้อมบริการนักท่องเที่ยว เช่น มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำป้อมที่พร้อมดูแลความปลอดภัยและให้ข้อมูลต่างๆ มีศาลาให้พักผ่อนสบายๆ สวนสุขภาพสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกาย และที่ปากน้ำบางนรานี้จะได้เห็นภาพชาวประมงเรือกอและวิ่งเข้าออกตามลำน้ำไปทำมาหากินและกลับบ้าน หมู่บ้านแห่งนี้ยังมีวิถีชีวิตชาวประมงอันเปี่ยมเสน่ห์  ภูมิปัญญาของชาวเลที่ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติ  ให้ความรู้สึกประทับใจแก่นักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาเยือน ใต้แนวสนที่ร่มรื่นยังเหมาะแก่การตั้งแค้มป์ รวมถึงมีบังกะโลริมหาดสำหรับผู้ที่ต้องการพักค้างคืนอีกด้วย
  2. 2. อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง (Ao Manao Khao Tanyong National Park) เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนพิเศษป่าเขาตันหยง และมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ สภาพธรรมชาติมีความสมบูรณ์หลากหลาย มีหาดทรายติดกับชายทะเลและเนินเขาสูง พื้นที่ป่าสงวน ป่าพรุ และพื้นที่ป่าพรุใกล้คลองปิเหล็ง มีพืชพันธุ์ไม้พื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติส่องสัตว์ดูนก รวมถึงสัตว์ป่าหายากหลากชนิด เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทางด้านทิศเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว – เขาตันหยง มีอ่าวมะนาวเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีหาดทรายขาวสลับด้วยโขดหินที่อยู่กระจัดกระจาย โอบล้อมด้วยเนินเขาสูงตลอดแนวจนถึงเขตพระราชฐาน บริเวณนี้จะพบเห็นพันธุ์ไม้ประเภทพันธุ์ไม้ป่าชายหาดที่ยังคงสมบูรณ์ และมีความสวยสดงดงามแปลกตาจำนวนมาก นับเป็นอ่าวและหาดที่มีความสวยงามที่สุดอีกหาดหนึ่ง บริเวณริมหาดมีสวนรุกขชาติและทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ในบริเวณเขตป่าซึ่งติดกับหาดทรายนั้นยังมีน้ำตกธาราสวรรค์ เป็นน้ำตกที่มีต้นกำเนิดจากภูเขาสูงในเขตพระราชฐานไหลลงสู่อ่าวไทยในเขตอุทยานแห่งชาติ และยังมีน้ำตกริมผา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สวยงามมากในฤดูฝน นอกจากนี้ยังมีการสำรวจพบต้นมะนาวผี ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมากทางทิศเหนือ และเป็นที่มาของชื่อเดิมว่า วนอุทยานอ่าวมะนาว จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช  บริเวณนอกเขตพระราชฐาน พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส
  3.  3. สุคิริน (Sukhirin) สุคิริน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส แต่เดิมเคยเป็นกิ่งอำเภอปาโจ ที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นชายแดนติดมาเลเซีย ที่นี่มีชุมชนท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือที่ ตำบลภูเขาทอง ชุมชนพุทธที่โยกย้ายถิ่นมาจากทางภาคอีสาน และมีวัฒนธรรมแบบอีสานอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน และทำให้อำเภอสุคิรินเป็นพื้นที่เดียวในภาคใต้ที่มีประเพณีบุญบั้งไฟ ที่ตำบลภูเขาทองมีโฮมสเตย์ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาส มีกิจกรรมหลายอย่างให้ได้เพลิดเพลินสนุกสนาน เช่น ถ่อแพไม้ไผ่ล่องแก่งลำน้ำสายบุรี ได้ร่วมทดลองร่อนหาทองที่ยังหลงเหลืออยู่ และเป็นอาชีพหนึ่งของชาวบ้านที่นี่ ผจญภัยฝ่าดงทากระหว่างทางไปเนินพิศวง เพื่อดูต้นกะพงยักษ์ขนาดหลายสิบคนโอบในเขตป่า ฮาลา – บาลา ซึ่งถ้าโชคดีก็อาจได้เห็นนกเงือกด้วย สถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งที่ห้ามพลาดคือยอดภูศาลา เพื่อดื่มด่ำกับภาพทะเลหมอกยามเช้าที่แสนสวยงาม และสามารถค้างแรมได้ โดยเจ้าหน้าที่มีเต็นท์เตรียมไว้ และไฮไลท์ของการค้างแรมที่ภูศาลานี้ก็คือการนอนดูดาวยามคืนค่ำ และอาจได้เห็นทางช้างเผือกที่งามสุดๆ อีกด้วย ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะคือ เดือนตุลาคม นอกจากนี้ยังมีอุโมงค์ลำเลียงทองของเหมืองทองคำโต๊ะโมะที่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว โดยจะมีไกด์ท้องถิ่นเป็นผู้นำทาง และให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ อย่างชัดเจน และระหว่างทางเดินไปถ้ำนี้จะได้เห็นความหลากทางชีวภาพของป่าไม้รอบๆ ที่ให้ความรู้สึกชุ่มชื่นมีชีวิตชีวา สะพานแขวนก็เป็นอีกจุดเช็คอินที่ต้องไม่พลาด และยังมีงานหัตถกรรมฝีมือชาวบ้านที่ได้รับการอบรมจากศูนย์ศิลปาชีพอีกด้วย 
  4.  4. ตากใบ (Takbai) ตากใบ เป็นอำเภอที่มีมนต์เสน่ห์เฉพาะตัว มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติของชาติไทยหลายแห่ง เช่น วัดชลธาราสิงเห ที่มีความสำคัญตั้งแต่ยุคอังกฤษล่าอาณานิคม หวังฮุบดินแดนปลายด้ามขวานไปรวมเป็นประเทศมลายู วัดแห่งนี้จัดเป็นศาสนสถานที่ทำให้ไทยไม่ต้องเสียดินแดนให้กับต่างชาติ วัดนี้จึงรู้จักในอีกนามหนึ่งว่า วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือ ชุมชนวัดชลธาราสิงเห ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพุทธดั้งเดิม ชาวไทยเชื้อสายจีนและไทยมุสลิม เป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชุมชนย่อยต่างๆ รวมถึงชุมชนเกาะยาว ที่สำคัญคือมีภาษาเจ๊ะเห ภาษาประจำถิ่นซึ่งมีที่นี่เพียงแห่งเดียว เช่นเดียวกับ ปลากุเลาตากแห้ง หนึ่งเดียวในประเทศ ชาวบ้านที่นี่ทำใบยาสูบกันแบบดั้งเดิม ใช้วิธีรมควันเพื่อให้ใบยาสูบแห้ง การสานเสวียนหม้อคือที่รองก้นหม้อโดยใช้ก้านใบจาก อีกจุดห้ามพลาดชมคือ มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือ มัสยิดตะโละมาเนาะ หรือที่ชาวบ้านเรียก มัสยิด 300 ปี ที่แตกต่างจากมัสยิดทั่วไปตรงที่สร้างด้วยไม้ตะเคียน 2 หลังติดต่อกัน สร้างแบบศิลปะไทยพื้นเมืองประยุกต์ผสมผสานศิลปะแบบจีน ที่สำคัญคือไม่ใช่ตะปู แต่ใช้ลิ่มและหมุดไม้ในการยึดเกาะชิ้นส่วนต่างๆ จุดถ่ายรูปสุดฮิตคือ สะพานคอยร้อยปี ที่เชื่อมต่ออำเภอตากใบไปเกาะยาว ปัจจุบันสะพานใหม่เป็นคอนกรีตคู่ไปกับสะพานไม้ของเดิมเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเดินดูทิวทัศน์สวยๆ ในช่วงยามเย็น  จุดถ่ายรูปยอดนิยมคือ เสาธงชาติไทยที่ใช้ไม้ธรรมดาๆ แต่ดูสวยแปลกตามีเสน่ห์มาก ส่วนด่านตาบาหรือ ด่านตากใบ จุดผ่านแดนไทย–มาเลเซีย เป็นแหล่งช้อปสุดคึกคัก นักท่องเที่ยวที่จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสสามารถไปเช้า-กลับเย็นได้
  5.  5. สุไหงโก-ลก (Sungai Kolok) สุไหงโก-ลก อำเภอใต้สุดของด้ามขวาน เดิมเป็นที่รกร้างชาวบ้านเรียกว่าป่าจันตุหลี หมายถึงป่าที่ทึบจนเรียกไม่ได้ยิน ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสุไหงโก-ลกซึ่งมาจากภาษามลายูคำว่า  "สุไหง"  แปลว่าแม่น้ำลำคลอง "โก-ลก" แปลว่าคดเคี้ยว เมื่อรวมกันเรียกว่า แม่น้ำที่คดเคี้ยว  สุไหงโก-ลกเป็นอำเภอที่เมืองใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัด เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดน  รถไฟสายใต้ก็สุดสายที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก แลนด์มาร์กสำคัญของสุไหงโก-ลก ที่บริเวณใกล้กันมีศิลปะสตรีทอาร์ทเท่ๆ ให้ถ่ายรูปสุดฮิป และยังมีสตรีทอาร์ทอีกหลายจุดให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปอย่างเพลิดเพลิน อีกจุดถ่ายรูปอยู่ที่สะพานข้ามทางรถไฟ ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมไปยังฝั่งมาเลเซีย ปัจจุบันปิดใช้งาน แต่ก็ยังเป็นจุดแวะถ่ายรูป ชมวิวแม่น้ำโกลก  และที่ต้องไม่พลาดคือวัดโก-ลกเทพวิมล หรือวัดท่านเอียด เป็นวัดมหานิกายที่ประชาชนทั้งชาวไทยและมาเลเซียให้ความเคารพศรัทธามาก เช่นเดียวกับศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ในทุกๆ ปีประมาณเดือนเมษายน มีงานประเพณีประจำปีที่บริเวณศาลเจ้า ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น แห่เจ้าแม่ ขบวนสิงโต ขบวนเองกอ ขบวนกลองยาว อีกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่ห้ามพลาดคือ ป่าพรุโต๊ะแดง สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวสายอนุรักษ์ต้องแวะ เพราะเป็นป่าพรุที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 4 อำเภอ รวมแล้ว 120,000 ไร่ มีชื่อทางการว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มีความอุดมสมบูรณ์สูงมากมีสัตว์ป่าและป่าไม้ธรรมชาติที่หาดูได้ยาก รวมถึงสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น กระรอก 7 สี หนูสิงคโปร์ กระรอกแก้มแดง เสือดำและมีพืชพันธุ์ไม้อีกหลายร้อยชนิด ส่วนสายชิมสายช้อปต้องแวะถนนคนเดิน ที่บรรยากาศแสนจะคึกคักในทุกเย็นวันศุกร์ตั้งแต่ประมาณ 5- 6 โมงเย็นเป็นต้นไป

 

อ่านบทความที่เที่ยวนราธิวาส ได้ที่นี่ 

 

เทศกาลที่สำคัญนราธิวาส

  1. 1. งานของดีเมืองนรา (Nara festivals) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 17 - 26 กันยายน ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เป็นงานที่รวบรวมสิ่งที่เป็นจุดเด่นของจังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ งานวันลองกอง งานแสดงผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพและงานกระจูด งานประชันเสียงนกเขาชวา ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานแข่งเรือกอและหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณหน้าพลับพลาที่ประทับ ท่าพระยาสาย ชมริ้วขบวนงานของดีเมืองนราและขบวนแห่วงดุริยางค์ การประกวดริ้วขบวนแห่งานของดีเมืองนรา ประกวดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การแข่งขันเสียบยอดลองกองของยุวเกษตรกร การแข่งขันจัดแจกันผักผลไม้ ขบวนแห่เรือบุปผชาติ การจัดแสดงและสาธิตผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ อิ่มอร่อยกับผลไม้นานาชนิดโดยเฉพาะลองกองซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของนราธิวาส พร้อมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ล้ำค่า จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสเพื่อร่วมงานได้ในช่วงเดือนกันยายน 
  2. 2. งานแห่เจ้าแม่โต๊ะโมะ (Tomoh Chinese Goddess Fair) งานประเพณีอันเก่าแก่ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนราธิวาส ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 เป็นต้นมา โดยถือเอาวันทางจีน วันที่ 23 เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเกิดของเจ้าแม่โต๊ะโมะ จัดงานฉลองติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดขึ้นในเขตเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก ลักษณะของงานประกอบด้วยขบวนแห่ภาคพิธีกรรมและภาคมหรสพ สำหรับขบวนแห่นำโดย ขบวนแห่เจ้าแม่แบบการแห่พระจีนทั่วไป ตามด้วยรถบุปผชาติ ขบวนการแสดงของวงโยธวาทิต รำกลองยาวของโรงเรียนต่างๆ ขบวนเชิดสิงโตและมังกร แห่แหนไปตามถนนสำคัญในเขตเทศบาล ส่วนภาคพิธีกรรม มีการเข้าทรง แสดงอภินิหาร อาทิ การไต่บันไดมีด สำหรับภาคมหรสพมีการแสดงอุปรากรจีน และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาส เพื่อร่วมงานได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน หรือต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี
  3.  3. ประเพณีบุญบั้งไฟ (Boun Bang Fai Festival) งานบุญถิ่นอีสานแห่งเดียวในภาคใต้ ณ ลานอเนกประสงค์บ้านโต๊ะโม๊ะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน เป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีของชาวอีสานในพื้นที่ตำบลภูเขาทอง ที่มีชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยนับทศวรรษ โดยประชากรร้อยละ 98 เป็นชาวไทยอีสาน หรือ ประมาณ 25,000 คน  ซึ่งได้นำกิจกรรมที่น่าสนใจเข้ามาด้วยนั่นคือ ประเพณีบุญบั้งไฟ โดยจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ ศ. 2522 ณ บ้านไอร์ปาโจ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน จากนั้นได้มีการจัดงานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดขึ้นในเดือน 6 หรือ เดือน 7 เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน หรือ เทพแห่งฝน เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การแสดงแสงสีเสียงประเพณีบุญบั้งไฟภูเขาทอง การจุดบั้งไฟเล็ก บั้งไฟจุดแข่งขัน การจุดบั้งไฟแสน การจุดบั้งไฟล้าน ขบวนรถบั้งไฟเอ้ ขบวนรำเซิ้ง การสาธิตปรุงอาหารท้องถิ่น แข่งขันตำส้มตำลีลา  การแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น และพร้อมด้วยมหรสพตลอดงาน จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสเพื่อร่วมงานบุญได้ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี

นราธิวาส (Narathiwat) เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ติดกับประเทศมาเลเซียอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,149 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 4,227.75 ตารางกิโลเมตร ที่จังหวัดนราธิวาสนั้นมีสนามบิน ดังนั้นหากใครที่อยากมาเที่ยวนราธิวาส แนะนำจองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสกันได้เลย มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีภูเขาหนาแน่นแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นแนวกั้นพรหมแดนไทย-มาเลเซีย  ลักษณะของพื้นที่มีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก  พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4  สาย คือ  แม่น้ำสายบุรี  แม่น้ำบางนรา  แม่น้ำตากใบ  และแม่น้ำโก-ลก  มีพื้นที่พรุจำนวนประมาณ 361,860 ไร่ มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 59 กม. มีภูเขาที่สำคัญคือเทือกเขาสันกาลาคีรี อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดภูเขาบอสินยอ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด และเทือกเขาบูโด อยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัด  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษามลายูเป็นภาษาพูด    

 

นราธิวาส แต่เดิมทีเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง ตั้งอยู่ปากแม่น้ำบางนราติดชายทะเลอ่าวไทย มีฐานะเป็นเพียงอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา หรือ บางนาค ส่วนชาวไทยมุสลิมเดิมเรียกที่นี่ว่า มนารา หรือ มนารอ ขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองภาคใต้ ต่อมาถูกโอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ในมณฑลปัตตานี ซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองเช่นกัน ปี พ.ศ. 2449 ในสมัยรัชกาลที่ 5 บ้านบางนรามีความเป็นอยู่หนาแน่นและเจริญเป็นชุมชนใหญ่กว่าตัวเมืองระแงะ จึงมีการย้ายศาลาว่าการเมืองมาตั้งที่บ้านมะนาลอ พร้อมยกฐานะขึ้นเป็น เมืองบางนรา ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา ทรงมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่อ เมืองบางนรา เป็น นราธิวาส อันมีความหมายว่า ที่อยู่ของคนดี ถัดมาในปี พ.ศ. 2476 มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ โดยการเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดนราธิวาสนับแต่นั้นเป็นต้นมา

 

นราธิวาส ปัจจุบันเป็นจังหวัด 1 ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT Growth Triangle Development Project) มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก ที่ชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์ นิยมมาท่องเที่ยวพักผ่อน แม้จะเป็น 1 ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่นราธิวาสนั้นเป็นเมืองที่เงียบสงบอบอุ่น และปลอดภัย ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มีสถานที่ท่องเที่ยวให้สำรวจอย่างครบรส หลากวัฒนธรรม ทั้งวัดไทยพุทธ พระพุทธอุทยาน ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ศูนย์รวมพลังแห่งศรัทธาของชาวจีนในนราธิวาส รวมทั้งชาวจีนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย  มัสยิดสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวมุสลิม ภูเขา ทะเล น้ำตก อีกทั้งวิถีชีวิตชุมชนมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปลายด้ามขวานทองของไทย ที่มีมนต์เสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสเมืองแห่งอารยธรรมแห่งนี้

 

เช็คมาตรการสนามบินนราธิวาสได้ที่นี่

สกุลเงินที่ใช้

ไทยบาท (Thai Baht หรือ THB)

 

ฤดูกาล 

จังหวัดนราธิวาสตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดจากมหาสมุทรอินเดีย และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดผ่านอ่าวไทย ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยจึงไม่สูงมาก อากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อน และอบอุ่นในช่วงฤดูฝน ส่วนในฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นเป็นบางครั้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.3 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดส่วนมากอยู่ในเดือนเมษายน แต่มีบางปีที่อากาศร้อนที่สุดอยู่ในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงที่สุดที่วัดได้ 39.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 17.1 องศาเซลเซียส  

นราธิวาสแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่องว่างของฤดูมรสุม หลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว อากาศจะเริ่มร้อน และมีอากาศร้อนจัดที่สุดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม แต่ไม่ร้อนมากนัก เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำทำให้อากาศคลายความร้อนลงไปมาก
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้นจากมหาสมุทรอินเดียพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีฝนตกทั่วไป และในช่วงฤดูฝนยังมีร่องความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้เป็นระยะๆ อีกด้วย จึงทำให้มีฝนตกมาก และเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกมากในช่วงฤดูหนาว คือระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมอีกช่วงหนึ่งด้วย จึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีฤดูฝนอันยาวนาน
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็น แต่เนื่องจากอยู่ติดชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของภาคใต้ อุณหภูมิจึงไม่ลดลงมาก อากาศหนาวกำลังสบาย

 

สายการบินที่มาลงนราธิวาส 

  •  เส้นทางบินระหว่างกรุงเทพฯ – นราธิวาส มีเที่ยวบินให้บริการ 15  เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จากสนามบินสุวรรณภูมิ และ สนามบินดอนเมือง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 35 นาที ระยะทาง 819 กิโลเมตร
  • สายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ – นราธิวาส จากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินนราธิวาส ได้แก่ การบินไทย (Thai Airways) ไทยสมายล์ (Thai Smile Airways) และไทยแอร์เอเชีย (Thai Air Asia)
  • สายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ – นราธิวาส จากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินนราธิวาส ได้แก่ แอร์เอเชีย (Thai Air Asia)

 

วิธีการเดินทางในนราธิวาส

  • รถสองแถว ให้บริการรับส่งจากสนามบินสู่ตัวเมือง รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังอำเภอต่างๆ เช่น สุไหงโกลก ตากใบ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่คิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง  
  • รถตู้ ให้บริการรับส่งระหว่างสนามบินและตัวเมือง รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง  
  • รถแท็กซี่ บริการรถรับส่งระหว่างสนามบินและตัวเมือง รวมทั้งสถานที่ต่างๆ คิดราคาตามมิเตอร์ หรือคิดเหมาจ่ายตามตกลง
  • รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางภายในตัวเมืองที่สะดวกรวดเร็ว อัตราค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง และการต่อรอง
  • รถเช่า ในตัวเมืองนราธิวาสมีรถให้เช่า ทั้งรถยนต์ และรถตู้ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้จากโรงแรมที่พัก
  • รถสามล้อถีบซึ่งความจริงคือจักรยานพ่วงข้างอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของที่นี่  

 

ที่เที่ยวสำคัญนราธิวาส

  1. 1. หาดนราทัศน์ (Naratat Beach) ชายหาดอันโด่งดังของนราธิวาส เพราะอยู่ห่างจากใจกลางตัวเมืองเพียง 1 กิโลเมตร เท่านั้น เดินทางสะดวกสุดๆ หาดนราทัศน์ร่มรื่นด้วยทิวสน  มีหาดทรายขาวรูปทรงโค้งสวยงามยาวต่อเนื่องหลายกิโลเมตร มองเห็นได้ไกลจนสุดลูกหูลูกตา ตลอดความยาวของหาดจะแบ่งเป็นหลายโซน ได้แก่ โซนขายอาหาร โซนเล่นน้ำ ไปจนถึงปลายแหลมปากแม่น้ำบางนรา นอกจากหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใสเหมาะแก่การลงเล่นน้ำแล้ว นักท่องเที่ยวที่จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสจะได้เห็นวิถีชีวิตชาวประมงในที่หมู่บ้านตั้งกระจายกันเป็นระยะๆ ทางทิศใต้ของหาดนราทัศน์ ซึ่งอยู่ติดกับปากน้ำบางนรา ชมเรือกอและที่มีลวดลายสีสันสวยงามวิจิตรอลังการจอดเรียงรายอยู่ตรงเวิ้งอ่าวหน้าหมู่บ้าน นอกจากนี้แม่น้ำบางนรายังเป็นสถานที่จัดงานแข่งเรือกอและในช่วงเดือน 11 ของทุกปีอีกด้วย ริมหาดแห่งนี้ยังมีร้านอาหารเรียงรายอยู่หลายร้าน อิ่มอร่อยกับอาหารหลากหลาย ทั้งอาหารทะเลสด ส้มตำน้ำตก ไส้กรอกลูกชิ้น และที่ขาดไม่ได้คือ กือโป๊ะ หรือข้าวเกรียบปลาของดีเมืองนราฯ ที่บริเวณหาดนราทัศน์มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ พร้อมบริการนักท่องเที่ยว เช่น มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำป้อมที่พร้อมดูแลความปลอดภัยและให้ข้อมูลต่างๆ มีศาลาให้พักผ่อนสบายๆ สวนสุขภาพสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกาย และที่ปากน้ำบางนรานี้จะได้เห็นภาพชาวประมงเรือกอและวิ่งเข้าออกตามลำน้ำไปทำมาหากินและกลับบ้าน หมู่บ้านแห่งนี้ยังมีวิถีชีวิตชาวประมงอันเปี่ยมเสน่ห์  ภูมิปัญญาของชาวเลที่ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติ  ให้ความรู้สึกประทับใจแก่นักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาเยือน ใต้แนวสนที่ร่มรื่นยังเหมาะแก่การตั้งแค้มป์ รวมถึงมีบังกะโลริมหาดสำหรับผู้ที่ต้องการพักค้างคืนอีกด้วย
  2. 2. อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง (Ao Manao Khao Tanyong National Park) เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนพิเศษป่าเขาตันหยง และมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ สภาพธรรมชาติมีความสมบูรณ์หลากหลาย มีหาดทรายติดกับชายทะเลและเนินเขาสูง พื้นที่ป่าสงวน ป่าพรุ และพื้นที่ป่าพรุใกล้คลองปิเหล็ง มีพืชพันธุ์ไม้พื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติส่องสัตว์ดูนก รวมถึงสัตว์ป่าหายากหลากชนิด เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทางด้านทิศเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว – เขาตันหยง มีอ่าวมะนาวเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีหาดทรายขาวสลับด้วยโขดหินที่อยู่กระจัดกระจาย โอบล้อมด้วยเนินเขาสูงตลอดแนวจนถึงเขตพระราชฐาน บริเวณนี้จะพบเห็นพันธุ์ไม้ประเภทพันธุ์ไม้ป่าชายหาดที่ยังคงสมบูรณ์ และมีความสวยสดงดงามแปลกตาจำนวนมาก นับเป็นอ่าวและหาดที่มีความสวยงามที่สุดอีกหาดหนึ่ง บริเวณริมหาดมีสวนรุกขชาติและทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ในบริเวณเขตป่าซึ่งติดกับหาดทรายนั้นยังมีน้ำตกธาราสวรรค์ เป็นน้ำตกที่มีต้นกำเนิดจากภูเขาสูงในเขตพระราชฐานไหลลงสู่อ่าวไทยในเขตอุทยานแห่งชาติ และยังมีน้ำตกริมผา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สวยงามมากในฤดูฝน นอกจากนี้ยังมีการสำรวจพบต้นมะนาวผี ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมากทางทิศเหนือ และเป็นที่มาของชื่อเดิมว่า วนอุทยานอ่าวมะนาว จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช  บริเวณนอกเขตพระราชฐาน พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส
  3.  3. สุคิริน (Sukhirin) สุคิริน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส แต่เดิมเคยเป็นกิ่งอำเภอปาโจ ที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นชายแดนติดมาเลเซีย ที่นี่มีชุมชนท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือที่ ตำบลภูเขาทอง ชุมชนพุทธที่โยกย้ายถิ่นมาจากทางภาคอีสาน และมีวัฒนธรรมแบบอีสานอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน และทำให้อำเภอสุคิรินเป็นพื้นที่เดียวในภาคใต้ที่มีประเพณีบุญบั้งไฟ ที่ตำบลภูเขาทองมีโฮมสเตย์ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาส มีกิจกรรมหลายอย่างให้ได้เพลิดเพลินสนุกสนาน เช่น ถ่อแพไม้ไผ่ล่องแก่งลำน้ำสายบุรี ได้ร่วมทดลองร่อนหาทองที่ยังหลงเหลืออยู่ และเป็นอาชีพหนึ่งของชาวบ้านที่นี่ ผจญภัยฝ่าดงทากระหว่างทางไปเนินพิศวง เพื่อดูต้นกะพงยักษ์ขนาดหลายสิบคนโอบในเขตป่า ฮาลา – บาลา ซึ่งถ้าโชคดีก็อาจได้เห็นนกเงือกด้วย สถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งที่ห้ามพลาดคือยอดภูศาลา เพื่อดื่มด่ำกับภาพทะเลหมอกยามเช้าที่แสนสวยงาม และสามารถค้างแรมได้ โดยเจ้าหน้าที่มีเต็นท์เตรียมไว้ และไฮไลท์ของการค้างแรมที่ภูศาลานี้ก็คือการนอนดูดาวยามคืนค่ำ และอาจได้เห็นทางช้างเผือกที่งามสุดๆ อีกด้วย ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะคือ เดือนตุลาคม นอกจากนี้ยังมีอุโมงค์ลำเลียงทองของเหมืองทองคำโต๊ะโมะที่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว โดยจะมีไกด์ท้องถิ่นเป็นผู้นำทาง และให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ อย่างชัดเจน และระหว่างทางเดินไปถ้ำนี้จะได้เห็นความหลากทางชีวภาพของป่าไม้รอบๆ ที่ให้ความรู้สึกชุ่มชื่นมีชีวิตชีวา สะพานแขวนก็เป็นอีกจุดเช็คอินที่ต้องไม่พลาด และยังมีงานหัตถกรรมฝีมือชาวบ้านที่ได้รับการอบรมจากศูนย์ศิลปาชีพอีกด้วย 
  4.  4. ตากใบ (Takbai) ตากใบ เป็นอำเภอที่มีมนต์เสน่ห์เฉพาะตัว มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติของชาติไทยหลายแห่ง เช่น วัดชลธาราสิงเห ที่มีความสำคัญตั้งแต่ยุคอังกฤษล่าอาณานิคม หวังฮุบดินแดนปลายด้ามขวานไปรวมเป็นประเทศมลายู วัดแห่งนี้จัดเป็นศาสนสถานที่ทำให้ไทยไม่ต้องเสียดินแดนให้กับต่างชาติ วัดนี้จึงรู้จักในอีกนามหนึ่งว่า วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือ ชุมชนวัดชลธาราสิงเห ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพุทธดั้งเดิม ชาวไทยเชื้อสายจีนและไทยมุสลิม เป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชุมชนย่อยต่างๆ รวมถึงชุมชนเกาะยาว ที่สำคัญคือมีภาษาเจ๊ะเห ภาษาประจำถิ่นซึ่งมีที่นี่เพียงแห่งเดียว เช่นเดียวกับ ปลากุเลาตากแห้ง หนึ่งเดียวในประเทศ ชาวบ้านที่นี่ทำใบยาสูบกันแบบดั้งเดิม ใช้วิธีรมควันเพื่อให้ใบยาสูบแห้ง การสานเสวียนหม้อคือที่รองก้นหม้อโดยใช้ก้านใบจาก อีกจุดห้ามพลาดชมคือ มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือ มัสยิดตะโละมาเนาะ หรือที่ชาวบ้านเรียก มัสยิด 300 ปี ที่แตกต่างจากมัสยิดทั่วไปตรงที่สร้างด้วยไม้ตะเคียน 2 หลังติดต่อกัน สร้างแบบศิลปะไทยพื้นเมืองประยุกต์ผสมผสานศิลปะแบบจีน ที่สำคัญคือไม่ใช่ตะปู แต่ใช้ลิ่มและหมุดไม้ในการยึดเกาะชิ้นส่วนต่างๆ จุดถ่ายรูปสุดฮิตคือ สะพานคอยร้อยปี ที่เชื่อมต่ออำเภอตากใบไปเกาะยาว ปัจจุบันสะพานใหม่เป็นคอนกรีตคู่ไปกับสะพานไม้ของเดิมเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเดินดูทิวทัศน์สวยๆ ในช่วงยามเย็น  จุดถ่ายรูปยอดนิยมคือ เสาธงชาติไทยที่ใช้ไม้ธรรมดาๆ แต่ดูสวยแปลกตามีเสน่ห์มาก ส่วนด่านตาบาหรือ ด่านตากใบ จุดผ่านแดนไทย–มาเลเซีย เป็นแหล่งช้อปสุดคึกคัก นักท่องเที่ยวที่จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสสามารถไปเช้า-กลับเย็นได้
  5.  5. สุไหงโก-ลก (Sungai Kolok) สุไหงโก-ลก อำเภอใต้สุดของด้ามขวาน เดิมเป็นที่รกร้างชาวบ้านเรียกว่าป่าจันตุหลี หมายถึงป่าที่ทึบจนเรียกไม่ได้ยิน ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสุไหงโก-ลกซึ่งมาจากภาษามลายูคำว่า  "สุไหง"  แปลว่าแม่น้ำลำคลอง "โก-ลก" แปลว่าคดเคี้ยว เมื่อรวมกันเรียกว่า แม่น้ำที่คดเคี้ยว  สุไหงโก-ลกเป็นอำเภอที่เมืองใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัด เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดน  รถไฟสายใต้ก็สุดสายที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก แลนด์มาร์กสำคัญของสุไหงโก-ลก ที่บริเวณใกล้กันมีศิลปะสตรีทอาร์ทเท่ๆ ให้ถ่ายรูปสุดฮิป และยังมีสตรีทอาร์ทอีกหลายจุดให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปอย่างเพลิดเพลิน อีกจุดถ่ายรูปอยู่ที่สะพานข้ามทางรถไฟ ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมไปยังฝั่งมาเลเซีย ปัจจุบันปิดใช้งาน แต่ก็ยังเป็นจุดแวะถ่ายรูป ชมวิวแม่น้ำโกลก  และที่ต้องไม่พลาดคือวัดโก-ลกเทพวิมล หรือวัดท่านเอียด เป็นวัดมหานิกายที่ประชาชนทั้งชาวไทยและมาเลเซียให้ความเคารพศรัทธามาก เช่นเดียวกับศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ในทุกๆ ปีประมาณเดือนเมษายน มีงานประเพณีประจำปีที่บริเวณศาลเจ้า ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น แห่เจ้าแม่ ขบวนสิงโต ขบวนเองกอ ขบวนกลองยาว อีกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่ห้ามพลาดคือ ป่าพรุโต๊ะแดง สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวสายอนุรักษ์ต้องแวะ เพราะเป็นป่าพรุที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 4 อำเภอ รวมแล้ว 120,000 ไร่ มีชื่อทางการว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มีความอุดมสมบูรณ์สูงมากมีสัตว์ป่าและป่าไม้ธรรมชาติที่หาดูได้ยาก รวมถึงสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น กระรอก 7 สี หนูสิงคโปร์ กระรอกแก้มแดง เสือดำและมีพืชพันธุ์ไม้อีกหลายร้อยชนิด ส่วนสายชิมสายช้อปต้องแวะถนนคนเดิน ที่บรรยากาศแสนจะคึกคักในทุกเย็นวันศุกร์ตั้งแต่ประมาณ 5- 6 โมงเย็นเป็นต้นไป

 

อ่านบทความที่เที่ยวนราธิวาส ได้ที่นี่ 

 

เทศกาลที่สำคัญนราธิวาส

  1. 1. งานของดีเมืองนรา (Nara festivals) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 17 - 26 กันยายน ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เป็นงานที่รวบรวมสิ่งที่เป็นจุดเด่นของจังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ งานวันลองกอง งานแสดงผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพและงานกระจูด งานประชันเสียงนกเขาชวา ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานแข่งเรือกอและหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณหน้าพลับพลาที่ประทับ ท่าพระยาสาย ชมริ้วขบวนงานของดีเมืองนราและขบวนแห่วงดุริยางค์ การประกวดริ้วขบวนแห่งานของดีเมืองนรา ประกวดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การแข่งขันเสียบยอดลองกองของยุวเกษตรกร การแข่งขันจัดแจกันผักผลไม้ ขบวนแห่เรือบุปผชาติ การจัดแสดงและสาธิตผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ อิ่มอร่อยกับผลไม้นานาชนิดโดยเฉพาะลองกองซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของนราธิวาส พร้อมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ล้ำค่า จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสเพื่อร่วมงานได้ในช่วงเดือนกันยายน 
  2. 2. งานแห่เจ้าแม่โต๊ะโมะ (Tomoh Chinese Goddess Fair) งานประเพณีอันเก่าแก่ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนราธิวาส ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 เป็นต้นมา โดยถือเอาวันทางจีน วันที่ 23 เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเกิดของเจ้าแม่โต๊ะโมะ จัดงานฉลองติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดขึ้นในเขตเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก ลักษณะของงานประกอบด้วยขบวนแห่ภาคพิธีกรรมและภาคมหรสพ สำหรับขบวนแห่นำโดย ขบวนแห่เจ้าแม่แบบการแห่พระจีนทั่วไป ตามด้วยรถบุปผชาติ ขบวนการแสดงของวงโยธวาทิต รำกลองยาวของโรงเรียนต่างๆ ขบวนเชิดสิงโตและมังกร แห่แหนไปตามถนนสำคัญในเขตเทศบาล ส่วนภาคพิธีกรรม มีการเข้าทรง แสดงอภินิหาร อาทิ การไต่บันไดมีด สำหรับภาคมหรสพมีการแสดงอุปรากรจีน และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาส เพื่อร่วมงานได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน หรือต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี
  3.  3. ประเพณีบุญบั้งไฟ (Boun Bang Fai Festival) งานบุญถิ่นอีสานแห่งเดียวในภาคใต้ ณ ลานอเนกประสงค์บ้านโต๊ะโม๊ะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน เป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีของชาวอีสานในพื้นที่ตำบลภูเขาทอง ที่มีชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยนับทศวรรษ โดยประชากรร้อยละ 98 เป็นชาวไทยอีสาน หรือ ประมาณ 25,000 คน  ซึ่งได้นำกิจกรรมที่น่าสนใจเข้ามาด้วยนั่นคือ ประเพณีบุญบั้งไฟ โดยจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ ศ. 2522 ณ บ้านไอร์ปาโจ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน จากนั้นได้มีการจัดงานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดขึ้นในเดือน 6 หรือ เดือน 7 เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน หรือ เทพแห่งฝน เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การแสดงแสงสีเสียงประเพณีบุญบั้งไฟภูเขาทอง การจุดบั้งไฟเล็ก บั้งไฟจุดแข่งขัน การจุดบั้งไฟแสน การจุดบั้งไฟล้าน ขบวนรถบั้งไฟเอ้ ขบวนรำเซิ้ง การสาธิตปรุงอาหารท้องถิ่น แข่งขันตำส้มตำลีลา  การแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น และพร้อมด้วยมหรสพตลอดงาน จองตั๋วเครื่องบินไปนราธิวาสเพื่อร่วมงานบุญได้ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี

สายการบินพันธมิตร

สายการบินพันธมิตรทั้งในและระหว่างประเทศ
เราร่วมมือกับสายการบินต่างๆ ทั่วโลก เพื่อรองรับทุกจดหมายปลายทางที่คุณต้องการ

พันธมิตรผู้ให้บริการชำระเงิน

เราร่วมมือกับผู้ให้บริการชำระเงินที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าการชำระเงินของคุณสะดวกและปลอดภัย

Xperience อื่นๆ ใน Narathiwat

เส้นทางยอดนิยม