0

Traveloka TH

07 May 2024 - 1 min read

เที่ยวยังไงให้ได้บุญ ชวนไหว้พระที่วัดอรุณ วัดแสนงามแห่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา

วัดอรุณ

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ยักษ์วัดแจ้ง กันมาไม่มากก็น้อย แล้วรู้หรือไม่ว่าวัดแจ้งอันเป็นที่อยู่ของยักษ์คือที่ไหน?

แท้จริงแล้ววัดแจ้งที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ นั้นมีอีกชื่อว่า “วัดอรุณราชวราราม” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “วัดอรุณ” นั่นเอง วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ เป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทย ทั้งยังมีสถาปัตยกรรมที่งดงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ทำให้วัดอรุณกลายเป็นสถานที่ยอดนิยมของสายบุญทั้งหลาย รวมถึงเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของไทยที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกต้องมาเช็กอินกันอีกด้วย!

สำหรับใครที่ต้องการมาทำบุญที่วัดอรุณ แต่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพ ก็สามารถกดจองตั๋วเครื่องบินไปกรุงเทพกับแอป Traveloka เพื่อเริ่มต้นทริปไหว้พระวัดอรุณใจกลางกรุงของคุณได้ Traveloka แอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ทุกการท่องเที่ยว ให้คุณจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรมหรือที่พัก ตลอดจนบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอื่น ๆ ด้วยโปรโมชันดี ๆ ในราคาสุดคุ้ม

ทำความรู้จักวัดอรุณ วัดยอดนิยมใจกลางกรุงเทพฯ

ไหว้พระวัดอรุณ

ผู้ที่เป็นสายบุญหรือสายมูทั้งหลาย มักนิยมมาทำบุญและขอพรที่วัดอรุณ เพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการให้พรแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง นอกจากนี้ วัดอรุณยังมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมากมาย เช่น พระปรางค์ใหญ่ พระวิหารหลวง และโบสถ์น้อย ทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นที่เที่ยวสุดฮิต ที่หากใครได้มาเยือนกรุงเทพจะพลาดไม่ได้เป็นอันขาด

สำหรับใครที่กำลังวางแผนท่องเที่ยวกรุงเทพฯ และกำลังมองหาที่พักกรุงเทพอยู่ อย่าลังเลที่จะจองโรงแรมกับเรา แอป Traveloka ตัวช่วยวางแผนทุกทริปท่องเที่ยว ให้คุณเที่ยวได้สะดวกและคุ้มค่า ด้วยโปรโมชันราคาดีลสุดพิเศษในทุกวัน

ประวัติของวัดอรุณ

วัดอรุณ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมมีชื่อว่า “วัดมะกอก” แต่เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “วัดแจ้ง” และใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเป็นครั้งใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “วัดอรุณราชธาราม” กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่ขึ้น ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมเปลี่ยนชื่อวัดอีกครั้งเป็น “วัดอรุณราชวราราม” และมีชื่อเต็มว่า “วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร”

ที่ตั้งของวัดอรุณ

วัดอรุณ ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดโพธิ์ วัดอรุณมีจุดสังเกตที่โดดเด่นคือ พระปรางค์เจดีย์สีขาวขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล ดูแล้วงดงามเป็นอย่างยิ่ง

เราสามารถเยี่ยมชมวัดอรุณได้ช่วงไหนบ้าง

วัดอรุณเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทั้งนี้คนไทยสามารถเข้าเยี่ยมชมวัดอรุณได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะมีค่าเข้าชมอยู่ที่ 100 บาทต่อท่าน

การเดินทางไปยังวัดอรุณ ไปอย่างไรได้บ้าง

สำหรับใครที่ต้องการมาเยี่ยมชมหรือมาทำบุญที่วัดอรุณ คุณสามารถเดินทางมาได้หลายวิธี ทั้งการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS, รถไฟฟ้า MRT, รถยนต์ส่วนตัว และการเดินทางด้วยเรือ ดังนี้

การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS

วิธีแรกในการไปเยี่ยมชมวัดอรุณคือ การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS สายสีลม ไปลงที่สถานีสะพานตากสิน ทางออกที่ 2 จากนั้นจึงนั่งเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าสาทร เพื่อไปยังท่าเรือวัดอรุณได้โดยตรง

การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า MRT

คุณสามารถเดินทางมาวัดอรุณด้วยรถไฟฟ้า MRT ได้ โดยลงที่สถานีสนามไชย ทางออกที่ 1 แล้วเดินเลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างด้านข้างมิวเซียมสยาม จากนั้นเดินเลียบตามทางไปวัดโพธิ์เรื่อย ๆ แล้วขึ้นเรือข้ามฟากบริเวณท่าเตียนเพื่อไปยังวัดอรุณ

นอกจากนี้ คุณอาจเลือกลงที่สถานีอิสรภาพ ทางออกที่ 2 จากนั้นเดินตรงไปทางซ้ายมือตามถนนอิสรภาพ แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนวังเดิม ใช้เวลาเดินประมาณ 10 นาทีก็จะถึงวัดอรุณเช่นกัน

การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว

สำหรับใครต้องการเดินทางมาเยี่ยมชมวัดอรุณด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็สามารถทำได้ โดยคุณอาจจอดรถบริเวณใกล้เคียงวัด หรือจะนำรถไปจอดที่ราชนาวีสโมสรตรงข้ามกับวัดพระแก้วก็ได้ จากนั้นจึงนั่งเรือข้ามฟากจากท่าเตียนไปยังวัดอรุณต่อได้เลย

การเดินทางด้วยเรือ

อีกหนึ่งวิธีในการเดินทางมาวัดอรุณคือ การเดินทางด้วยเรือ โดยคุณสามารถนั่งเรือไปลงที่ท่าเตียน แล้วต่อเรือข้ามฟากจากฝั่งพระนครไปลงท่าเรือหน้าวัดอรุณ หรือจะนั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่วัดอรุณโดยตรงก็ได้เช่นเดียวกัน

ไฮไลต์เด่นวัดอรุณ (วัดแจ้ง) มาถึงแล้วต้องไม่พลาด!

วัดอรุณนั้นนอกจากจะเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทยแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งวิธีการเดินทางมายังวัดอรุณก็ง่ายแสนง่าย จึงทำให้นักท่องเที่ยวอยากมาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว

สำหรับใครที่มีแพลนจะมาเที่ยววัดอรุณ คุณควรรู้จักจุดเด่นของวัดแห่งนี้เสียก่อน เพราะเป็นจุดเช็กอินที่ผู้มาเยือนวัดอรุณไม่ควรพลาด จะมีที่ไหนน่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย!

ยักษ์วัดแจ้ง

ยักษ์วัดแจ้ง

จุดเช็กอินจุดแรกที่ไม่ควรพลาดเมื่อคุณมาเที่ยววัดอรุณคือ ยักษ์วัดแจ้ง รูปปั้นพญายักษ์สองตนที่ยืนเฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ มือทั้งสองกุมกระบองไว้ ยักษ์ฝั่งขวามีกายสีขาวชื่อสหัสเดชะ และยักษ์ฝั่งซ้ายมีกายสีเขียวชื่อทศกัณฐ์ ตามความเชื่อของไทย ยักษ์ทั้งสองตนนี้จะทำหน้าที่เป็นทวารบาล คอยปกปักรักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในพระอุโบสถไว้นั่นเอง

โบสถ์น้อย

โบสถ์น้อยวัดอรุณ

อีกหนึ่งแลนด์มาร์กของวัดอรุณที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยี่ยมเยียนคือ โบสถ์น้อย พระอุโบสถเก่าแก่ที่อยู่คู่วัดอรุณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อรุ่งมงคล พระบรมรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระแท่นบรรทม เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้ามาสักการะขอพร

พระจุฬามณีเจดีย์

พระจุฬามณีเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารน้อย อีกหนึ่งวิหารเก่าแก่ของวัดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชมสักการะ ถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของวัดอรุณที่ใครมาเยือนวัดอรุณต้องห้ามพลาด

พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก

พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก

“พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก” พระประธานปางมารวิชัยที่อยู่ในพระอุโบสถของวัดอรุณ ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 2 ด้วย นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์เด่นที่นักท่องเที่ยวมักเข้ามาเที่ยวชมพร้อมสักการะขอพรเช่นเดียวกัน

ตำนานยักษ์วัดอรุณ (วัดแจ้ง) และวัดโพธิ์

ความน่าสนใจของวัดอรุณยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะนอกจากความสวยงามและไฮไลต์เด่นต่าง ๆ ของวัดอรุณแล้ว ยังมีตำนานความเชื่อที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือ ตำนานยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของท่าเตียน

โดยตำนานกล่าวไว้ว่า ยักษ์วัดแจ้งจากฝั่งธนบุรี ซึ่งก็คือยักษ์สหัสเดชะและยักษ์ทศกัณฐ์ กับยักษ์วัดโพธิ์จากฝั่งพระนคร ที่มีชื่อว่าพญาสัทธาสูรและพญาขร เกิดผิดใจกันเรื่องเงิน และได้ต่อสู้กันจนทำให้บ้านเมืองบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเหี้ยนเตียนและราบเป็นหน้ากลอง ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็กลายเป็นที่มาของชื่อ “ท่าเตียน” ในปัจจุบันนั่นเอง

รับทราบข้อมูลใหม่ ๆ ตลอดเวลา
สมัครรับจดหมายข่าวของเรา เพื่อคำแนะนำการท่องเที่ยวและรูปแบบการใช้ชีวิตที่มากขึ้น พร้อมด้วยข้อเสนอที่น่าตื่นเต้น
สมัคร